ชั้นบริบาลและปฐมวัยที่สาธิตฯ เราจะมุ่งพัฒนาเด็กๆ ตามวัย
แต่เด็กๆ จะมีการบ้าน คือ ให้อ่านนิทานกับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ☺️
(ขอบพระคุณรูปภาพน่ารักๆ จากผู้ปกครองนะคะ ??)
ปี 2018 มีงานวิจัยที่เพิ่งนำเสนอการประชุมวิชาการ
Pediatric Academic Societies meeting ที่โตรอนโต งานวิจัยดังกล่าวน่าสนใจมาก เพราะนำเสนอเกี่ยวกับ “การตอบสนองของสมองเด็ก” ต่อ “สิ่งกระตุ้น” นั่นคือ “นิทาน”

จากรายงาน การวิจัยโดยนำเด็ก 27 คน อายุเฉลี่ย 4 ขวบ มาเข้าเครื่อง functional MRI เพื่อดูการตอบสนองของสมอง ตอนฟังนิทาน 3 แบบ ซึ่งนิทานทั้ง 3 แบบ เป็นเรื่องเดียวกัน ผู้แต่งคนเดียวกัน ต่างกันเพียงรูปแบบ คือ
1. แบบเป็นเสียงเล่า คือ การใช้เสียงเล่านิทานอย่างเดียว (audio)
2. แบบหนังสือนิทานและเสียง (illustration with voice over)
3. แบบการ์ตูนเคลื่อนไหว (animation)

ผลวิจัย พบว่า แบบแรก คือ “เล่าให้ฟังอย่างเดียว” สมองส่วนรับรู้ภาษาจะตอบสนองเพียงส่วนเดียวเป็นหลัก โดยเชื่อมโยงออกไปที่สมองส่วนอื่นไม่มากนัก (too cold) หมายความว่า เด็กพยายามจะเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน แต่อาจไม่มากนัก

ส่วนแบบที่สาม คือ animation ซึ่งมีเสียงมีภาพเป็นหนังการ์ตูน พบว่า สมองส่วน “ฟัง รับรู้ภาษา” และสมองส่วน “มองเห็น” ตอบสนองอย่างมาก คลื่นสมองวิ่งวุ่นไปหมด (too hot) แต่ไม่เชื่อมโยงไปยังสมองส่วนอื่นๆ หมายความว่า สมองส่วนการรับรู้ภาษา พยายามรับและติดตามเนื้อเรื่องของนิทาน ต้องพยายามแปลทั้งภาพและภาษาที่ได้รับพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด…แย่ที่สุด

ส่วนแบบที่ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ แบบหนังสือนิทานและเสียง ซึ่งก็คือ การอ่านนิทานให้ฟัง โดยพบว่า รูปภาพในหนังสือนิทานจะช่วยยึดโยงภาษา เนื้อเรื่อง และภาพ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยพบว่า สัญญาณประสาทเกิดความเชื่อมโยงไปยังสมองส่วนต่าง ๆ มากที่สุดด้วยภาพนิ่ง (หนังสือนิทาน) ที่สำคัญ ภาพนิ่งในหนังสือนิทานจะเปิดความคิด และจินตนาการได้มากกว่า

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.aappublications.org/…/2018/05/05/passcreens050518

Loading

By admin